วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทสัมภาษณ์ของ art4d

22 พฤศจิกายน 2550

>>หลังจากที่ได้แสดงผลงานในนิทรรศการออกแบบบางกอก 2007 ก็ได้รับการติดต่อจากพี่อุ้ม (ปิยพงศ์ ภูมิจิตร) เพื่อที่จะสัมภาษณ์ลงคอลัมน์ 4dFACEs ในนิตยสาร art4D ฉบับที่142 เนื่องจากเวลาที่คลาดเคลื่อนกันทำให้ไม่สามารถนัดพบเพื่อพูดคุยกันได้จึงใช้วิธีการตั้งคำถามและให้ผมตอบทางอีเมล์แทน เมื่อผมตอบคำถามเสร็จก็ได้มีการพูดคุยกันทางโทรศัพท์เพิ่มเติมถึงเรื่องผลงานของผม แนวความคิด กระบวนการทำงานอย่างสั้น และความคิดเห็นของการจัดงานนิทรรศการการออกแบบบางกอก 2007 จากคำตอบทางอีเมล์และบทสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จึงออกมาเป็นคอลัมน์ดังที่เห็นนี้


--+นิตยสาร art4D ฉบับที่142




--+รูปหน้าดอลัมน์ 4dFACEs

[ภาษาไทย]
จำนวนวิทยานิพนธ์ที่ส่งเข้ามาทุกสาขานับรวมได้ 481 โปรเจ็คต์ สาขาสถาปัตยกรรม 86 ชิ้น คัดเหลือ 8 ชื้น สาขาตกแต่งภายในส่งเข้ามามากที่สุด 130 ชิ้น เหลือ 7 ชิ้น ออกแบบผลิตภัณฑ์ 73 ชิ้นเหลือ 7 ชิ้น สาขาเรขศิลป์ 96 ชิ้น เหลือ 8 ชิ้น และสุดท้ายคือ สาขาแฟชั่นและเครื่องประดับ 96 ชิ้นเหลือ 10 ชื้น ทั้งหมด 40 ชิ้นแสดงอยู่ในนิทรรศการ degree shows 2007 ไฮไลท์สำคัญที่จัดอยู่ในเทศกาลออกแบบบางกอก ครั้งที่ 1 เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา งานที่กรรมการแต่ละสาขาช่วยกันคัดสรรที่ดีที่สุดออกมามีทั้งงานที่มีความเป็นส่วนตัวสุดๆ งานแนวทดลองและงานที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และหลายงานดูแล้วสามารถพัฒนาต่อเป็นงานจริงได้ไม่ยาก หนึ่งในนั้นคือ โปรเจ็คต์ที่ชื่อ พิมพ์ดี งานออกแบบชุดตัวอักษรภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาเวลาที่เราพิมพ์ตัวอักษรขนาดเล็กด้วยเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) งานวิทยานิพนธ์ของ ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม (Tanachot Sapruangnam) จากภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ art4d มีโอกาสได้พูดคุยกับเขา ทั้งในแง่ของชีวิตการเรียนและชีวิตจริงในการทำงาน

"ตอนนี้ทำงานอยู่ที่บริษัท ภาคปฏิบัติ จำกัด (Practical visual communication design studio) ตำแหน่ง กราฟิก ดีไซเนอร์ งานที่บริษัทภาคปฏิบัติจะมีอยู่สองส่วนครับ ส่วนแรกคือส่วน Practical Studio เป็นส่วนที่รับงานออกแบบเพื่อการสื่อสารทั่วไปเช่น ออกแบบและวางแผนภาพลักษณ์องค์กร วางแผนออกแบบให้นิตยสาร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ถ่ายภาพ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเรขศิลป์ อีกส่วนคือ Practical Product เป็นส่วนที่ผลิตสินค้าในนามของ Practical ส่วนมากจะเป็นสินค้าประเภทสมุดจด และออแกไนเซอร์ งานที่ผมทำจะเป็นงานส่วนของ Studio ก็มีหน้่าที่ออกแบบ และถ่ายภาพบ้างประปรายกันไป"
เมื่อถามถึงงานโปรเจ็คต์สุดท้ายที่เรียน ธนโชติเล่าให้ฟังว่า "ตอนแรกเลย ก็คิดว่าจะทำ font ภาษาไทย เลยเข้าไปหาประเด็นที่พอจะทำเป็นงาน thesis พอลอง research ดูก็เจอประเด็นที่ว่า custom font แต่ละองค์กรจะแตกต่างกันก็ยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ พอไปเจอ font ที่ชื่อ Bell Centennial ออกแบบโดย Matthew Carter เนี่ยเป็นการออกแบบชุดตัวอักษรที่ใช้แล้วประหยัดกระดาษ สามารถอ่านได้ง่ายแม้จะพิมพ์ด้วยเทคนิคที่ประหยัดหมึกพิมพ์แค่ไหนก็ตาม ก็ลองมาคิดต่อว่า font ภาษาไทยเนี่ยปัญหาที่เราเจอบ่อยเวลาใช้เครื่อง inkjet พิมพ์ก็คือเวลาที่เราพิมพ์ตัวเล็กสัก 12 points แล้ว พยัญชนะหลายตัวที่มีรายละเอียดมากมักจะเกิดอาการท่วมล้น อย่างตัว ถ ถุงกับ ภ สำเภา จะเกิดปัญหาทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง เลยต่อยอดมาเป็นงาน thesis ที่ต้องการออกแบบชุดตัวอักษรภาษาไทยสำหรับแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ของระบบ inkjet ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด"
" พอได้หัวข้อแล้ว ก็เรื่มจากการเก็บข้อมูล font ภาษาไทยที่เป็นตัว body text ที่มีใช้กันอยู่แล้ว เลือกมาทั้งหมด 29 font เอามาหาข้อดี-ข้อเสียเวลาพิมพ์ด้วยเครื่อง inkjet ในขนาด 12 points หาตัวที่แสดงผลชัดเจน จนได้ข้อมูลเพียงพอที่จะออกแบบ เช่น นำ้หนักความหนาของเส้นตั้งและเส้นนอน หัวของตัวอักษรไม่จำเป็นต้องต้องบรรจบกันเป็นวงกลม ปลายจบของตัวอักษรจะเป็นเส้นตั้งฉากเท่านั้น เพื่อผลการพิมพ์ที่ดีที่สุด สำหรับโปรเจ็คต์นี้ผมพอใจประมาณ 70-80 % ครับ"

นอกจากงาน thesis จะว่าด้วยเรื่องงานออกแบบตัวอักษรแล้ว ธนโชติให้ความเห็นถึงอาชีพนักออกแบบตัวอักษร (type designer) ในมุมมองของตัวเองว่า
"ก่อนหน้านี้ผมไม่คิดว่าตนเองจะเป็นtype designerได้ เพราะว่าตัวผมเองไม่ได้มีผลงานโดดเด่นในการออกแบบตัวอักษร ตอนเรียนปี3เคยส่งประกวดโครงการ10ฟอนต์แห่งชาติครั้งที่2ของกระทรวงพาณิชย์ ก็ไปได้ถึงแค่รอบ 40 คนสุดท้าย แรกๆก็เริ่มหมดหวังคิดว่าเราคงทำไม่ได้ แต่ช่วงหลังๆอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยคอยให้คำปรึกษา ประกอบกับตัวเราเองก็เอาผลงานออกแบบตัวอักษรให้อาจารย์วิจารณ์อยู่ตลอดเวลา ทำให้ได้ประสบการณ์ดีๆ คำแนะนำ และแรงผลักดันมากขึ้น จึงทำให้คิดว่ามันก็ไม่เสียหายอะไรที่เราจะทำต่อไปในสิ่งที่เราชอบไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ก็ตาม ถึงตอนนี้ผมคิดว่าผมเป็นนักออกแบบตัวอักษรแล้วนะ เพียงแต่ว่ายังไม่มีใครรู้จักเท่านั้นเอง แต่ถึงอย่างไรก็ดีด้วยบทบาทของนักออกแบบตัวอักษรในประเทศไทยแล้วยังมีน้อยอยู่ ลูกค้าส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับแบบตัวอักษรมากนัก บางคนถึงกับเข้าใจว่าอาชีพนี้เป็นคนเขียนคัทเอาท์ออกแบบอักษรประดิษฐ์ ผมคิดว่าสิ่งนี้แหละที่ทำให้นักออกแบบตัวอักษรแทบทุกคนทำงานออกแบบเรขศิลป์เป็นหลัก งานออกแบบตัวอักษรเป็นแค่ส่วนย่อยเท่านั้นทำเพราะใจรักจริงๆ บุคลากรทางด้านนี้ก็ยังคงน้อยอยู่ด้วย เวทีที่ให้เด็กรุ่นใหม่เปิดตัวผลงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ยังคงน้อยอยู่มาก"

และในฐานะที่เพิ่งเรียนจบมาหมาดๆ ความเห็นของธนโชติต่อวงการการศึกษาออกแบบของไทยในปัจจุบันน่าสนใจไม่น้อย
"ระบบการสอนออกแบบในปัจจุบัน ผมว่าอาจารย์มีส่วนสำคัญมากๆ ยกตัวอย่างอาจารย์ที่มี vision และใจกว้างพอที่จะสนับสนุนให้เด็กทำงานที่ไม่ใช่ main stream รวมทั้งอาจารย์ควรจะรับฟังเหตุผลของเด็ก รวมทั้งคำแนะนำที่ดีสำหรับเด็ก ผมว่านักศึกษาที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาดี จะทำให้งานเด็กออกมาดีด้วยครับ รวมทั้งตัวเด็กก็ต้องมีการใช้องค์ความรู้ด้านอื่นด้วย ที่ไม่ใช่แค่เรื่องออกแบบอย่างเดียว รวมไปถึงการทดลองในการทำงานออกแบบแต่ละครั้ง"
ส่วนความเห็นเกี่ยวกับงาน degree shows ที่จัดเป็นครั้งแรก
"ผมคิดว่าเป็นโครงการที่ดีมากๆ ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาสายวิชาการออกแบบมีความพยายามมาก ความตั้งใจ และความกระตือรือล้นขึ้นในการทำศิลปนิพนธ์มากขึ้น น่าเสียดายที่ครั้งนี้ โปรโมทน้อยไปหน่อย ผมรู้จากเน็ตอีกที แล้วก็อยากให้รางวัลเป็นประกาศนียบัตรที่เป็นทางการหน่อยครับ"

ส่วนเรื่องงานทั้งตอนนี้และอนาคตข้างหน้า ธนโชติบอกว่า
"งานตอนนี้ happy ดีครับ ผมทำ Corporate Identity และพวก signage ด้วย ความรู้สึกจริงๆก็ไม่ค่อยจะต่างจากตอนเรียนเท่าไหร่ ที่ต่างก็คือ ความรู้สึกเวลาที่ต้องประสานงานกับคนอื่น ทั้งทีมงานและลูกค้า รวมทั้งการขายงานครับที่ค่อนข้างยากแต่ก็สนุกดีครับ สำหรับอนาคต อาชีพหลักของผมก็ยังคงเป็นนักออกแบบต่อไป(Graphic Designer) เพราะเป็นสายที่เราเรียนมา แต่ก็จะพัฒนาหาความรู้ ทฤษฎี และวิธีการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาผลงานของตนเองอยู่ตลอดเวลา อีกอย่างคืออยากทำฟอนต์และถ่ายภาพ ปกติทำเป็นงานอดิเรก เพราะเป็นสิ่งที่ชอบอยู่แล้วนอกเหนือจากงานออกแบบ แต่ก็อยู่ที่ว่าจะมีคนมาจ้างรึเปล่า งานอดิเรกนี้จะได้กลายมาเป็นอาชีพสักที"
"ตอนนี้อยากทำฟอนต์ให้เสร็จมากๆ ก่อนหน้านี้ประมาณสามเดือน อ.อนุทิน วงศ์สรรคกร ได้ผลักดันและให้คำปรึกษาผมในการพัฒนาฟอนต์พิมพ์ดีให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นแต่ยังไม่เสร็จสักที ตอนนี้เริ่มกลับมาทำบ้างแล้วแต่กว่าจะสมบูรณ์แบบก็คงต้องใช่เวลาศึกษาการทำฟอนต์อีกพักหนึ่ง และก็มีแบบตัวอักษรที่ขึ้นแบบไว้อยู่สองสามแบบเขียนไว้นานมากแล้วเป็นไปได้อยากทำให้เสร็จตามๆกันไป"

ก็ต้องติดตามต่อไปว่าธนโชติจะเอาดีทางด้านไหน ไม่ว่าจะเป็นงานกราฟิกหรืองานออกแบบตัวอักษร ที่แน่ๆคือ ผ่านไป 5 ปีเมื่อไหร่ อยากให้เขาย้อนกลับมาอ่านที่ตัวเองเคยพูดไว้ในหน้านี้ แล้วมันยังเป็นเหมือนที่เขาเคยบอกกับเราหรือเปล่า โปรดอย่ารอคอยแต่จงติดตามด้วยความระทึกในดวงหทัยพลัน (อีกแล้วครับท่าน)

[English language]
Fresh from The Degree Shows 2007, Tanachot Sapruangnam is now developing his own typeface apart from practicing at the Practical – a visual communication design studio.

The amount of theses submitted from each field amounted to 481 projects from architecture, product design, interior design, fashion and jewelry design as well as graphic design. All in all, 40 theses are on display at the degree shows 2007 exhibition; the key highlight presented at the Bangkok Design Festival for the first time, last month. Judges from each branch gathered together for this event to select the best and most impressive works. There are numerous works that have potential to be further developed into concrete products.

An example is the project called Pim Dee. This particular work is a collection of Thai letters that has been created to help resolve common problems that arise when typing small, Thai letters with inkjet printers. This is Tanachot Sapruangnam’s thesis and is from the Communication Design, Faculty of Fine and Applied Arts of Bangkok University. art4d had an opportunity to speak with him. “At first, I thought about creating a Thai font, so I searched for a problem that can be turned into a thesis. When I tried researching about it, I found that the custom font of each letter differs from one another, but it isn’t that interesting.

But when I discovered the Bell Centennial font, which is designed by Matthew Carter, I realized that this font saves space on paper. It’s easy to read this font even when conserving ink. So I looked into the problematic nature of Thai fonts when using inkjet printers to print them out at 12 points. Many consonants with details would often overflow. For example, the and would cause problems, making it illegible. So I decided to expand this into my thesis, to one that sought to design a set of Thai fonts in order to fix this problem regarding printing them out with inkjet systems that are used most by people.”

“After coming up with the hypothesis, I began collecting data. Twenty-nine of the Thai fonts that serve as body texts that are already in use, were selected. From there, I set out to find their pros and cons when printing with an inkjet printer at 12 points. I looked for one that would clearly demonstrate this problem until I was able to gather enough to commence with the design. Certain areas I looked into were the weight and thickness of the vertical and horizontal lines. The heads of each letter didn’t necessarily have to have complete circles and the ends of each letter must be vertical lines only in order to produce the best print results. As for this project, I am 70-80% satisfied with it.”

Besides dealing with font types in his thesis, Tanachot also shares with us his views on being a type designer.

“Before this, I never imagined that I could ever become a type designer because I didn’t have any remarkable works that dealt with type design. During my 3rd year, I entered the 10 fonts of the nation competition, which was the second one held by the Ministry of Commerce. I only ended up among the last 40 people. At first, I was beginning to lose hope, thinking that I probably wouldn’t make it. But towards the end, I received advice from a professor at the university. I would constantly show my design works to receive constructive feedback from my professor. This provided me with good experiences, advice and more motivation.

At this point, I think of myself as a type designer. It’s just that, no one really knows me. But because there aren’t too many type designers in Thailand, most clients still don’t find much importance in typefaces. Some even think that the responsibility of this profession is one of writing letter cutouts for decorating. I think this is the very reason why most type designers mainly work in the applied arts. Type design is only a small sub branch that is a labor of love. Also, staff in this area is few.

The stage that allows new generation designers to present their work or organizations that deal with this branch of art still are few in number.” As for his thoughts regarding the first degree shows, “I think it’s a very good project and I believe this project is one that will instill in design students, greater determination, more concentration and more enthusiasm in working on an art thesis. It’s a shame that there wasn’t much promotion this time. I found out through the Internet and would like for the reward to be an official certificate or diploma.”

Regarding his current work and the future, Tanachot states, “I am happy with my current work. I’m doing Corporate Identity and signage as well. The way I feel right now doesn’t differ much from when I was in school. The only difference is when I have to deal and work with other people, with the team and with clients. As for the future, my main profession will still be in graphic design because it’s my field of study. However, I’m constantly furthering my knowledge in theories, new processes and technologies in order to continually develop my work. Other areas I’d like to work on are font design and photography which are more of hobbies. However, it all depends if someone decides to hire me. Then these hobbies will finally turn in to professions.”

“Right now, I really want to complete a font type. About 3 months before this, Professor Anuthin Wongsunkakon had encouraged and given me advice regarding the development and the pending completion of the font type. I’ve now come back to work on it, but to complete it will probably take some time, as I’ll have to learn about font making again. I also have two, three letters that I worked on a while back and would like to finish them as well.”

To find out which path Tanachot decides to take, we can only stay tuned. Whether it’s graphic or type design, what’s certain is that after 5 years have passed, we would like for him to come back to this and read it again to see if his life has turned out differently or is just as he has expressed today.[]

>>ขอขอบคุณart4d พี่อุ้ม(ปิยพงศ์ ภูมิจิตร) พี่เต้ย พี่พิ้งค์ พี่ตี๋ และทีมงาน art4d ทุกท่านครับ
>>บทสัมภาษณ์นี้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร art4D ฉบับที่142 เดือนพฤศจิกายน 2550 คอลัมน์ 4dFACEs หน้าที่ 30

ไม่มีความคิดเห็น: