วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550

ลัคดี

18 เมษายน 2550


>>ลัคดี-LuckD แบบตัวพิมพ์ 3 น้ำหนัก บาง-Light | ปกติ-Regular | หนา-Bold ใช้โครงสร้างจากเส้นตรงเป็นหลัก ใช้เส้นโค้งเป็นมุม

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550

พิมพ์ ดี

11 เมษายน 2550


>>โครงการออกแบบตัวพิมพ์ไทยเพื่อแก้ปัญหาผลทางการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet)

>>อักษรภาษาไทยนั้นมีรูปทรง โครงสร้าง และรายละเอียดที่แตกต่างจากอักษรแบบละตินอย่างเห็นได้ชัด ด้วยโครงสร้างแล้วจะเห็นได้ว่าอักษรภาษาไทยมีรายละเอียดที่มาก และซับบซ้อนกว่า เมื่อถูกพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer) ออกมา พยัญชนะภาษาไทยหลายๆตัวที่มีรายละเอียดมากมักจะเกิดอาการท่วมล้นของหมึกได้โดยง่าย ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดอาการหัวบอด ตัวทึบตัน เป็นเหตุทำให้เกิดการสับสนในการอ่านในที่สุด


--+ผลจากการพิมพ์แบบพ่นหมึก

>>เมื่อได้ไปศึกษาตัวพิมพ์แบบละตินของต่างชาติแล้วได้พบว่าตัวพิมพ์หลายๆตัวได้ถูกออกแบบ และแก้ไขเพื่อผลทางการพิมพ์มาแล้ว แต่เป็นการแก้ไขในการพิมพ์ระบบอื่นๆ จึงได้แนวความคิดนี้มาต่อยอดกับการออกแบบตัวพิมพ์ภาษาไทยเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการแสดงผลของตัวอักษร โดยออกแบบตัวพิมพ์สำหรับแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ของระบบพิมพ์แบบพ่นหมึก ซึ่งเป็นระบบพิมพ์ที่มาตรฐาน มีใช้ตามบ้าน ราคาถูก และมีบริษัทผู้พัฒนามากที่สุด


--+แบบตัวพิมพ์ Bell Centennial ออกแบบโดย Matthew Carter ในปีค.ศ.1976 พัฒนามาจากแบบตัวพิมพ์ Bell Gothic ที่ออกแบบโดย Chauncey H. Griffith ในปีค.ศ.1938 ซึ่งทั้ง2แบบถูกออกแบบให้กับบริษัท AT&T เพื่อใช้พิมพ์ในสมุดโทรศัพท์ของประเทศอเมริกา


--+ใช้การโค้งเว้าตัวรูปอักษร (Ink Trap) เพื่อแก้ปัญหาการบอดตันของตัวอักษรในการพิมพ์ขนาดเล็ก


--+ออกแบบให้มี4น้ำหนักใช้ตามรูปแบบการใช้งาน


--+โปสเตอร์โฆษณาแบบตัวพิมพ์ Bell Centennial "How can a typeface save a tree?"
ฝั่งซ้ายเป็น Bell Gothic ปีค.ศ.1938 | ฝั่งขวาเป็น Bell Centennial ปีค.ศ.1976


--+แบบตัวพิมพ์ Ratina ออกแบบโดย Jonathan Hoefler และ Tobias Frere-Jones ออกแบบให้ใช้กับ The Wall Street Journal เพื่อให้ประหยัดกระดาษ โดยที่ยังคงคุณสมบัติในการอ่านง่ายและชัดเจนที่ขนาด7พอยต์


--+ใช้การโค้งเว้าตัวรูปอักษร (Ink Trap) เพื่อแก้ปัญหาการบอดตันของตัวอักษรในการพิมพ์ขนาดเล็ก


--+แบบตัวพิมพ์ Ratina เมื่อใช้พิมพ์จริงจะไม่เห็นส่วนเว้นของตัวอักษร เพราะน้ำหมีกได้ท่วมลงไปในส่วนที่โค้งเว้าแล้ว

>>พิมพ์ ดี เป็นแบบตัวพิมพ์ไทยที่ออกแบบเพื่อการแก้ปัญหาผลทางการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกที่มุ่งประเด็นการแก้ปัญหาไปที่การแก้ปัญหาตัวพิมพ์แบบเนื้อความเพื่อการอ่านในขนาด 12 พอยต์ ออกแบบโดยใช้วิธีการสังเกตการณ์์เลือกแบบตัวอักษรที่ดีจากผลทางการพิมพ์ของแบบตัวพิมพ์ไทยที่มีใช้อยู่โดยทั่วไปในขนาด 12 พอยต์ และนำตัวที่ดีมาวิเคราะห์หาวิธีการ และโครงสร้างเพื่อนำมาออกแบบเป็นแบบตัวพิมพ์ตัวใหม่


--+ปกหลัง | ปกหน้า (หนังสือกระบวนการออกแบบ)


--+โปสเตอร์


--+แบบตัวพิมพ์

>>จัดแสดงในนิทรรศการ Falcon: The Magenta










>>โครงการออกแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงการออกแบบนิเทศศิลป์
ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลับกรุงเทพ
ปีการศึกษา 2549

>>ผู้ออกแบบ ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม
>>ที่ปรึกษาโครงการ อ.เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช

>>โครงการออกแบบนี้เป็นโครงการออกแบบสุดท้ายเพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลับกรุงเทพ มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
ทั้งสิ้น 59 คน ที่ห้างสรรพสินค้า Central World ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2550