วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549

อักษร+กระดาษ/พั/บ/>ประติมากรรม.

28 กันยายน 2549


>>ทดลองออกแบบผลงานประติมากรรมที่เกิดจากจุดแกนบังคับเส้น BCP (Bézier Curve Point) ของอักษรอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสร้างเส้นจำลองจากจุด BCP ในแต่ละจุดในตัวอักษรเพื่อให้เกิดแกนสมมติขึ้น(รอยพับ) เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการสร้างผลงานประติมากรรมกระดาษที่เกิิดจากตัวอักษร โดยที่แกนสมมติของจุด BCP จะเป็นตัวกำหนดการขึ้นรูปสามมิติของกระดาษ อักษรกระดาษหนึ่งตัวสามารถเปลี่ยนรูปได้หลากหลายรูปแบบโดยที่ยังใช้โครงสร้างเดิม ขึ้นอยู่กับทิศทางในการพับขึ้นรูปกระดาษ

[BCP คือจุดที่มีไว้สำหรับบังคับทิศทางความโค้งของเส้นรอบนอกของตัวอักษรตามทิศทางที่เรากำหนดเปรียบเสมือนจุดแกนในการบังคับเส้นของรูปทรงในการวาดภาพในโปรแกรมสร้างภาพเวคเตอร์ต่างๆในการวาดตัวอักษรนั้นควรจะมีจุด BCP ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่จะสร้างเส้นรอบนอกของตัวอักษรแบบนั้นๆซึ่งจุด BCP ในแต่ละจุดควรจะมีแกนบังคับเส้นในองศาที่ตั้งฉากคงที่ตลอดทั้งรูปตัวอักษรคือ 0° 90° 180° 270° 360° การวาดจุด BCP ที่คงที่จะทำให้ตัวอักษรแต่ละตัวมีความสมดุลย์ทางด้านรูปทรง ซึ่งมีผลดีต่อทั้งการใช้งานตัวอักษร และการเก็บประมวลผลข้อมูลในรูปแบบตัวพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ฟอนต์]


--+ตัวงานแบบยังไม่ได้สร้างประติมากรรม


--+ตัวงานแบบแกะตัวอักษรกระดาษออก


--+ตัวงานแบบแกะตัวอักษรกระดาษออก


--+แบบประติมากรรมกระดาษ


--+แบบประติมากรรมกระดาษ


--+แบบประติมากรรมกระดาษ


--+แบบประติมากรรมกระดาษ


--+แบบประติมากรรมกระดาษ


--+การนำเสนอ


--+การนำเสนอ

>>โครงการออกแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการทดลองการออกแบบตัวอักษร
(Experimental Typography) ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549

>>ผู้ออกแบบ ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม
>>อาจารย์ผู้สอน อ.อนุทิน วงศ์สรรคกร

>>โครงการออกแบบนี้เป็นโครงการจบของวิชาการทดลองการออกแบบตัวอักษร
มีการจัดแสดงนิทรรศการที่ใต้อาคาร7 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
วิทยาเขตรังสิต ในวันที่ 28 กันยายน 2549

>>ผลงานของนักศึกษาในวิชานี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร art4D ฉบับที่131
เดือนตุลาคม 2549 คอลัมน์ 4dSOCIETY หน้าที่ 28 เขียนโดย อ.อนุทิน วงศ์สรรคกร


--+นิตยสาร art4D ฉบับที่131





--+รูปหน้าคอลัมน์ 4dSOCIETY
[อ่านบทความโดยผู้สอน อ.อนุทิน ได้ที่ anuthin.com]
[ดูภาพเพิ่มเติม]

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549

เขียนภาพด้วยแสง

กันยนยน 2549

>>แสงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ เมื่อแสงกระทบวัตถุจึงจะเกิดภาพ แต่ถ้าแสงนั้นไม่ได้กระทบวัตถุ แต่แสงนั้นส่องขนานกับเส้นรอบของวัตถุภาพที่เราเห็นจะเป็นอย่างไร?


--+การทดลอง1.1 แสงที่ส่องกระทบวัตถุและผ่านเส้นรอบวัตถุที่1(เปียโน) ทำให้เกิดภาพบนวัตถุที่2(กำแพง)


--+การทดลอง1.2 แสงที่ส่องกระทบวัตถุและผ่านเส้นรอบวัตถุที่1(หนู) ทำให้เกิดภาพบนวัตถุที่2(กำแพง)


--+การทดลอง2.1 แสงที่เกิดในอากาศไม่ได้กระทบวัตถุ หรือทำให้วัตถุใดๆเกิดภาพ


--+การทดลอง2.2 แสงที่เกิดในอากาศไม่ได้กระทบวัตถุ หรือทำให้วัตถุใดๆเกิดภาพ


--+การทดลอง2.3 แสงที่เกิดในอากาศไม่ได้กระทบวัตถุ หรือทำให้วัตถุใดๆเกิดภาพ


--+การทดลอง3.1 นำแสงที่ได้จากการทดลองมาจัดองค์ประกอบ


--+การทดลอง3.2 นำแสงที่ได้จากการทดลองมาจัดองค์ประกอบ


--+แบบร่าง


--+วัตถุกำหนดทิศทางแสง1


--+วัตถุกำหนดทิศทางแสง2


--+วัตถุกำหนดทิศทางแสง3


--+เขียนแบบอักษรด้วยแสง


--+ผลสำเร็จ

>>การทำงานชิ้นนี้มีอุปสรรค์อยู่มากโดยเฉพาะเรื่องแสงและกล้องถ่ายภาพ เพราะเรามองไม่เห็นและกะระยะไม่ได้ว่าภาพที่เกิดขี้นจะหลุดขอบหรือไม่(สร้างภาพจากวัตถุขนาดจริง) กล้องก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน เพราะระยะที่ถ่ายเป็นระยะเลนส์มุมกว้างทำให้ภาพถูกบิดเบือนด้วยระยะของเลนส์ จริงๆแล้วควรจะถ่ายด้วยระยะเลนส์ปกติแต่ก็ต้องใช้พื้นที่ทำงานมากขึ้นไปด้วย (บ้านไม่ใหญ่และไม่มึดพอ)

>>ด้วยระยะเวลาของงาน และความถนัด(ในการเขียนภาพกลางอากาศแบบไม่มีเฟรม)แล้ว ภาพที่เกิดอาจไม่สวยงามมากนัก เท่าที่เห็นนี้ก็ทดลองอยู่นานทำแล้วทำอีก วิ่งเข้าวิ่งออกอยู่กับหน้ากล้องหลังกล้องทั้งคืน

>>โครงการออกแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์5
(Communication Design5) ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549

>>ผู้ออกแบบ ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม
>>อาจารย์ผู้สอน อ.ชุติมารี จาตุรจินดา, อ.พันทิพา ตันชูเกียรติ